วงจรสตาร์เดลต้า|วงจรหม้อแปลง|สตาร์มอเตอร์วงจร Star Delta
|วงจรหม้อแปลง|สตาร์มอเตอร์ วงจร Star Delta|
วงจรสตาร์เดลต้า คือ วงจรไฟฟ้า ที่เป็นรูปแบบการต่อใช้งานของ อุปกรณ์ประเภทขดลวด หลักๆในการต่อ วงจร Star delta เพื่อปรับเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้า ไปใช้ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ อย่างวงจรสตาร์ทมอเตอร์ และวงจรหม้อแปลงไฟฟ้า ในระบบไฟฟ้า 3 เฟส โดยเรามีตัวอย่างแบบวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายสำหรับวงจรสตาร์ทมอเตอร์ และวงจรอินเวอร์เตอร์
ตัวแทนจำหน่ายอินเวอร์เตอร์
ปรึกษา การใช้ Inverter Delta ติดต่อ วิศวกรให้คำปรึกษา
Sale & Service Engineer Tel : 098-254-9060 ID-Line : 0982549060
Email : SystemEnergy01@gmail.com
วงจรสตาร์เดลต้า เป็นวงจรที่มีการต่อขดลวดใช้งานในระบบไฟฟ้า 3 เฟส วงจร Star delta แยกเป็นวงจรขดลวดได้ 2 วงจรคือ วงจรขดลวดแบบสตาร์ และ วงจรขดลวดแบบเดลต้า
วงจรขดลวดแบบสตาร์
การที่จะต่อวงจรสตาร์ได้ ต้องมีชุดขดลวดอย่างน้อย 3 ชุดขดลวด และเพื่อการอธิบายให้ได้รายละเอียดที่จะเข้าใจง่ายขึ้น จึงขอกำหนดทิศทางขั้วของขดลวด โดยให้
ขดลวดชุดที่ 1 กำหนดให้ปลายข้างหนึ่งเป็นขั้ว a1 และให้ปลายอีกข้างหนึ่งเป็นขั้ว b1
ขดลวดชุดที่ 2 กำหนดให้ปลายข้างหนึ่งเป็นขั้ว a2 และให้ปลายอีกข้างหนึ่งเป็นขั้ว b2
ขดลวดชุดที่ 3 กำหนดให้ปลายข้างหนึ่งเป็นขั้ว a3 และให้ปลายอีกข้างหนึ่งเป็นขั้ว b3
วงจรสตาร์ ให้นำขดลวดทั้ง 3 ชุด โดยนำขั้ว b1 b2 b3 ต่อเข้าหากันตามรูป
เมื่อต่อขั้ว b1 b2 b3 เข้าหากันแล้วก็จะเหลือขั้ว a1 a2 และ a3 ซึ่งปลายขั้วที่เหลือก็ต่อออกไปใช้ เป็น X Y Z หรือ ระบบไฟฟ้า 3 เฟส R S T
วงจรขดลวดแบบเดลต้า
การที่จะต่อวงจรเดลต้าได้ ก็ต้องมีชุดขดลวดอย่างน้อย 3 ชุดขดลวดเหมือนกัน และเช่นเดิมเพื่อการอธิบายให้ได้รายละเอียดที่จะเข้าใจง่ายขึ้น จึงต้องขอกำหนดทิศทางขั้วของขดลวด โดยให้ ขดลวดชุดที่ 1 กำหนดให้ปลายข้างซ้ายเป็นขั้ว a1 และให้ปลายอีกข้างขวาเป็นขั้ว b1 ขดลวดชุดที่ 2 กำหนดให้ปลายข้างซ้ายเป็นขั้ว a2 และให้ปลายอีกข้างขวาเป็นขั้ว b2 ขดลวดชุดที่ 3 กำหนดให้ปลายข้างซ้ายเป็นขั้ว a3 และให้ปลายอีกข้างขวาเป็นขั้ว b3
วงจรเดลต้า ให้นำขดลวดชุดที่ 1 ขั้ว a1 ต่อเข้ากับ ขั้ว b3 ของขดลวดชุดที่ 3 และ ขั้ว b1 ของขดลวดชุดที่ 1 ต่อเข้ากับ ขั้ว a2 ของขดลวดชุดที่ 2 แล้วให้นำขดลวดชุดที่ 2 ขั้ว a2 ต่อเข้ากับ ขั้ว b1 ของขดลวดชุดที่ 1 และ ขั้ว b2 ของขดลวดชุดที่ 2 ต่อเข้ากับ ขั้ว a3 ของขดลวดชุดที่ 3 แค่นี้ก็จะได้วงจรสตาร์ตามรูปด้านบนแล้ว
เมื่อต่อชุดขดลวดครบทั้ง 3 ขดแล้ว เราจะนำจุดเชื่อมต่อออกไปใช้ อย่างเฟส X จะต่อมาจาก จุดเชื่อมต่อ b1,a2 และเฟส Y จะต่อมาจาก จุดเชื่อมต่อ a1,b3 และเฟส Z จะต่อมาจาก จุดเชื่อมต่อ a3,b2
การสตาร์ทมอเตอร์แบบ วงจรสตาร์เดลต้า
วงจร Star Delta เมื่อเข้าใจการต่อขดลวดแบบสตาร์และแบบเดลต้าแล้ว เราจะนำความรู้เบื้องต้นไปใช้กับมอเตอร์อินดักชั่นไฟฟ้า 3 เฟส ซึ่งเราก็ต้องเข้าใจหลักการและเหตุผล ในการใช้มอเตอร์อินดักชั่นไฟฟ้า 3 เฟส สำหรับการสตาร์ทแบบ สตาร์เดลต้า ด้วยเหมือนกัน
การสตาร์ทมอเตอร์แบบ สตาร์เดลต้า คือการแบ่งช่วงการเริ่มเดินของมอเตอร์ โดยช่วงแรกของการเริ่มเดินมอเตอร์ การออกตัว วงจรขดลวดของมอเตอร์จะต่อเป็นวงจรแบบสตาร์ ในระยะเวลาช่วงหนึ่ง จนถึงช่วงที่สอง วงจรขดลวดของมอเตอร์จะถูกเปลี่ยนวงจรจากวงจรสตาร์เป็นการต่อวงจรขดลวดแบบเดลต้า จนความเร็วรอบมอเตอร์คงที่ ก็ถึงว่าเป็นการสตาร์ทมอเตอร์แบบ สตาร์เดลต้า เสร็จสิ้น
ทำไมเราจึงต้องสตาร์ทมอเตอร์ด้วย วงจรสตาร์เดลต้า
เหตุผลหลักเลยเพื่อ ลดกระแสไฟฟ้า ช่วงเริ่มเดินมอเตอร์ หรือ ช่วงออกตัวนั่นเอง เพราะถ้าต่อวงจรขดลวดมอเตอร์แบบเดลต้าอย่างเดียว แล้วเริ่มเดินมอเตอร์ มอเตอร์จะกิน กระแสชั่วเริ่มต้นหรือช่วงออกตัว ประมาณ 3 เท่าของกระแสเนมเพลทมอเตอร์ ซึ่งถ้ามอเตอร์มีขนาดใหญ่มาก การกินกระแสก็ยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย และก็จะตามมาอีกอย่างที่พิกัดกำลังต้องใหญ่ขึ้นตามไปด้วย คือ สายไฟ และอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ อย่างฟิวส์ เบรคเกอร์ แมกเนติกคอนแทคเตอร์ และค่าไฟฟ้าที่ต้องเพิ่มมากขึ้นด้วย
ข้อเสียของการสตาร์ทมอเตอร์ด้วย วงจรสตาร์เดลต้า
ถึงแม้ว่าเหตุผลหลักจะ ช่วยลดกระแสไฟฟ้าสตาร์ทมอเตอร์ได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้พลังงานไฟฟ้า ทำให้ประหยัดค่าอุปกรณ์ป้องกันอย่าง ฟิวส์ เบรคเกอร์ แมกเนติกคอนแทคเตอร์ และสายไฟก็ไม่ต้องใช้ขนาดใหญ่ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ติดตั้งเหล่านี้ลดลง แต่ปัญหามันมาตกที่ กำลังหรือแรงบิดก็ลดลงตามประมาณ 3 เท่าเช่นกัน ทำให้ไม่สามารถใช้กับโหลดมอเตอร์ที่มีความเฉื่อยสูงในช่วงการออกตัว เพราะอาจทำให้มอเตอร์ไม่สามารถออกตัวได้ และเป็นปัญหาใหญ่มากต้องมาเสียค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อนอีก เพราะฉนั้นก็การสั่งซื้ออุปกรณ์และติดตั้ง ควรคำนึงถึงแรงเฉื่อยของโหลดมอเตอร์ด้วย