DELTA INVERTER อินเวอร์เตอร์เดลต้า

 

VFD อินเวอร์เตอร์คุณภาพสูงประหยัดพลังงานควบคุมความเร็วมอเตอร์

System Energy Works

ศูนย์จำหน่ายราคาถูกที่สุด มีสินค้าพร้อมส่ง

Email : SystemEnergy01@gmail.com 

FREE SERVICE CATALOG MANUAL

ทีมวิศวกรพร้อมให้คำปรึกษาและบริการหน้างาน

ขอราคาด่วนโทรติดต่อสอบถามได้ทันที

Sale & Service Engineer 

Tel: 098-254-9060 ID-Line: 0982549060

Tel: 094-968-7337 ID-Line: 0949687337

 


 วิธีการเลือกอินเวอร์เตอร์

การเลือกอินเวอร์เตอร์ Inverter ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานนั้นมีความสำคัญมากและมีอิทธิพลอย่างมากต่ออายุการใช้งาน

หากเลือกขนาดของอินเวอร์เตอร์ที่มีขนาดใหญ่มากเกินไปก็ไม่สามารถให้การป้องกันที่สมบูรณ์กับมอเตอร์

หากเลือกขนาดของอินเวอร์เตอร์ มีขนาดเล็กเกินไปก็ไม่สามารถขับมอเตอร์ได้และอาจเสียหายเนื่องจากการโอเวอร์โหลด

แต่หากการเลือกอินเวอร์เตอร์ที่มีขนาดเท่ากับมอเตอร์ก็อาจจะไม่สามารถขับมอเตอร์ได้เช่นกันหากโหลดมีขนาดความเฉื่อยสูง

หรือโหลดต้องการการจ่ายกระแสสูงต่อเนื่อง ดังนั้นควรเลือกอินเวอร์เตอร์ให้เหมาะสม เพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น

1.เลือกแหล่งจ่ายไฟฟ้าที่มีใช้ให้เหมาะสม ( Input PowerSupply )

2.เลือกกำลังขับของอินเวอร์เตอร์ให้เหมาะสมกับมอเตอร์และภาระโหลด

3.เลือกอินเวอร์เตอร์รุ่นที่มีฟังก์ชั่นเหมาะสมกับระบบอัตโนมัติที่ออกแบบ


 INVERTER DELTA VFD-MS300 SERIES

 เป็น อินเวอร์เตอร์เดลต้า รุ่นเล็กกะทัดรัด ชาญฉลาด ด้วยฟังก์ชั่น Deceleration Energy Backup (DEB)การสะสมพลังงานสำรองสำหรับการเบรก ขณะไฟตก ไฟดับ
มาตรฐานใหม่สำหรับไมโครไดรฟ์ Inverterประสิทธิภาพสูงและแรงบิดออกตัวสูง

      อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติในปัจจุบันยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างเช่นการแข่งขันทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น นอกเหนือจากการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและลดแรงงาน จึงเพิ่มแรงผลักดันสำหรับระบบอัตโนมัติคือการเปลี่ยนไปสู่ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น คุณภาพที่ดีที่สุดและที่สำคัญที่สุดคือความยืดหยุ่นและความเข้ากันได้สำหรับการใช้งานที่หลากหลาย MS300 series ของเดลต้าเป็นรุ่นใหม่ที่ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงและไดรฟ์ที่มีการควบคุมแบบเวกเตอร์คอนโทรล และการควบคุมแบบปรับระดับแรงดันตามความถี่ ที่มีขนาดกะทัดรัดมาตรฐานสูงที่สืบทอดเทคโนโลยีไดรฟ์ที่เหนือชั้นของเดลต้า ทั้งหมดนี้อยู่ในไดรฟ์ขนาดกะทัดรัดที่ลดขนาดลง 40% และฟังก์ชั่นที่จำเป็นหลากหลายมีอยู่ในตัวเป็นมาตรฐานรวมถึงการ Built-in PLC Controller สำหรับความต้องการด้านการเขียนโปรแกรมอย่างง่ายและช่องเสียบการสื่อสารสำหรับการ์ดสื่อสารต่าง ๆ และพอร์ต USB เพื่อให้มีการอัพโหลดข้อมูลและดาวน์โหลดรวดเร็วและง่าย สิ่งนี้ช่วยประหยัดความต้องการฮาร์ดแวร์เพิ่มเติมในขณะที่ให้พื้นที่การติดตั้งเพิ่มเติมสำหรับตู้คอนโทรลระบบไฟเครื่องจักรคุณสมบัติที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ สามารถใช้ควบคุมมอเตอร์ IM(อินดักชั่นมอเตอร์ไฟฟ้าสามเฟส) และ PM(มอเตอร์แม่เหล็กถาวรไฟฟ้าสามเฟส)   เพื่อความยืดหยุ่นในการใช้งาน  , ฟังก์ชั่น STO เพื่อให้มั่นใจถึงการทำงานที่ปราศจากความกังวลในขณะที่ปกป้องจากความเสียหายและกระบวนการเดินสายที่เรียบง่ายแบบใหม่ด้วยการออกแบบการเดินเข้าสายไม่ขันสกรูแบบไม่มีขั้วสำหรับการติดตั้งอย่างรวดเร็วประหยัดพื้นที่ลดการตั้งค่าและเวลาในการเดินสายและให้ประสิทธิภาพสูงและระบบที่มีความเสถียรสูง MS300 คือ กุญแจของคุณในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันในตลาดและสร้างความมั่นใจในความสำเร็จ

INVERTER DELTA VFD-MS300 SERIES


INVERTER DELTA VFD-C2000 SERIES

 


INVERTER DELTA VFD-C2000 PLUS SERIES

VFD C2000+

 








































 

 

 



INVERTER DELTA VFD-L SERIES


INVERTER DELTA VFD-EL SERIES

        อินเวอร์เตอร์เดลต้า ที่เหมาะกับงานเครื่องจักรอุตสาหกรรมขนาดเล็ก งานพัดลม งานปั๊มน้ำ หน้าจอ keypad ไม่สามารถถอดได้ สามารถใช้แรงดันไฟขาเข้า  220 โวลต์หนึ่งเฟสเอาต์พุตแรงดันไฟไปมอเตอร์ 0 ถึง 220 โวลต์สามเฟสหรือ ใช้แรงดันไฟขาเข้า 220 โวลต์สามเฟสเอาต์พุตไปมอเตอร์ 0 ถึง 220 โวลต์สามเฟส หรือใช้แรงดันไฟขาเข้า 380 โวลต์สามเฟสเอาต์พุตไปมอเตอร์ 0 ถึง 380 โวลต์ ต้องเลือกใช้ตามแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่มีและมอเตอร์ที่จะใช้ก็ต้องตรงกับแรงดันไฟฟ้าอินพุตหรือขาเข้าของแหล่งจ่าย ซึ่งมอเตอร์ที่จะใช้ต้องเป็นมอเตอร์เหนี่ยวนำไฟฟ้าสามเฟสหรือเรียกมอเตอร์อินดักชั่นไฟฟ้าสามเฟสเท่านั้น ไม่สามารถใช้กับมอเตอร์หนึ่งเฟสได้



INVERTER DELTA VFD-E SERIES

     เป็น อินเวอร์เตอร์เดลต้า ที่เหมาะกับงานสร้างเครื่องจักรอุตสาหกรรมขนาดกลางทุกประเภท ติดตั้งเพื่อควบคุมความเร็วรอบอินดักชั่นมอเตอร์ไฟฟ้า 3 เฟส ในเครื่องจักร
และใช้สำหรับการประหยัดพลังงานของมอเตอร์ โดยควบคุมความเร็วมอเตอร์ให้เหมาะสมกับโหลด พร้อมตัวลดสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า Built-in EMI Filter
สามารถเขียนโปรแกรม PLC ได้โดยตรงในตัว อินเวอร์เตอร์ มีฟังค์ชั่นควบคุมการขับมอเตอร์แบบ
-SPWM : Sinusoidal Pulse Width Modulation -V/f : Sensorless Vector Control
สามารถควบคุมความเร็วด้วยวิธีการ
-Keypad กดลูกศรขึ้นลง หรือ หมุนวอลุ่มปรับความเร็ว หรือต่อสัญญาณวงจรภายนอก ตัวต้านทานวอลุ่ม ( Potentiometer 5k/0.5W ) , 0-10VDC , 4-20mA , RS-485 Interface , Multi-Function Speed 15 Step


Operation Functions
Built-in PLC , AVR , Accel/Decel S-Curve , Over-Voltage/Over-Current Stall Prevention, 5 Fault Records , Reverse Inhibition , Momentaty Power Loss Restart , DC Braking , Auto Torque/Slip Compensation , Auto Tuning , Adjustable Carrier Frequency , Output Frequency Limit , Parameter Lock/Reset , Vector Control , PID Control , External Counter , MODBUS Communication , Abnormal Re-Start , Power-Saving , Sleep/Wake Function , Fan Control , 1st/2nd Frequency Source Selections , 1st/2nd Frequency Source Combination , NPN/PNP Selection

Application Fields
-Conveyor and Transportation Machinery
-Food Processing
-Machine Tool/Metal Processing Machinery
-Wood Working Machinery
-Fan & Pump Equipment
-Paper/Textile Machine


การใช้งาน INVERTER DELTA รุ่น VFD-E ปรับความเร็วรอบมอเตอร์

INVERTER DELTA รุ่น VFD-E Series เลือกอินพุตไฟเลี้ยงได้ 3 แบบ
1.แบบ 3 เฟส 380 โวล์ต โมเดลอินเวอร์เตอร์จะลงท้ายด้วย 43A
2.แบบ 3 เฟส 220 โวล์ต โมเดลอินเวอร์เตอร์จะลงท้ายด้วย 23A
3.แบบ 1 เฟส 220 โวล์ต โมเดลอินเวอร์เตอร์จะลงท้ายด้วย 21A

สำหรับไฟโรงงาน 380 โวล์ต 3 เฟส ต้องเลือกอินเวอร์เตอร์ที่ลงท้ายด้วย 43A
อินพุตไฟเลี้ยง Power Supply จะมีขั้วสำหรับต่อสาย L1/R , L2/S , L3/T
เอาต์พุตมอเตอร์ จะมีขั้วต่อสาย U , V , W , G และมอเตอร์ต้องต่อวงจรภายในเป็น 380 โวล์ต 3 เฟส ตามเนมเพลทมอเตอร์

สำหรับไฟโรงงาน 220 โวล์ต 3 เฟส ต้องเลือกอินเวอร์เตอร์ที่ลงท้ายด้วย 23A
อินพุตไฟเลี้ยง Power Supply จะมีขั้วสำหรับต่อสาย L1/R , L2/S , L3/T
เอาต์พุตมอเตอร์ จะมีขั้วต่อสาย U , V , W , G และมอเตอร์ต้องต่อวงจรภายในเป็น 200 โวล์ต 3 เฟส ตามเนมเพลทมอเตอร์

สำหรับไฟบ้าน 220 โวล์ต 1 เฟส 2 สาย ต้องเลือกอินเวอร์เตอร์ที่ลงท้ายด้วย 21A
อินพุตไฟเลี้ยง Power Supply จะมีขั้วสำหรับต่อสาย L1/R , L2/S
เอาต์พุตมอเตอร์ จะมีขั้วต่อสาย U , V , W , G และมอเตอร์ต้องต่อวงจรภายในเป็น 200 โวล์ต 3 เฟส ตามเนมเพลทมอเตอร์
*** ไม่สามารถใช้กับมอเตอร์ 1 เฟสได้ ***


PARAMETER พารามิเตอร์และรายละเอียดสำคัญ ที่ต้องเซ็ต ก่อนเริ่มใช้งาน 
Parameter ที่ต้องเซ็ต สำหรับการปรับความเร็วรอบมอเตอร์ 
Parameter [ 02.00 ] ปกติจะถูกเซ็ตไว้เท่ากับ 1
เซ็ตเท่ากับ 0 คือ เลือกใช้ลูกศรขึ้นและลูกศรลง ของหน้าจอ Keypad สำหรับปรับความถี่ Frequency Command  
เซ็ตเท่ากับ 1

คือ เลือกใช้ปรับความถี่โดยต่อวงจรภายนอก ที่ขั้ว  [ +10V , AVI , ACM ]

สำหรับ R วอลุ่ม 3 ขา ปรับความต้านทาน 5k-Ohm [ ขา 1 ต่อที่ +10V ][ ขา 2 ต่อที่ AVI ][ ขา 3 ต่อที่ ACM ]

สำหรับต่อจาก PLC หรือ Controller Analog Output 0-10V [ ขา Analog Out ต่อที่ AVI ][ ขา Common Analog ต่อที่ ACM ]

เซ็ตเท่ากับ 2

คือ เลือกใช้ปรับความถี่โดยต่อวงจรภายนอก ที่ขั้ว  [ ACI , ACM ]

สำหรับต่อจาก PLC หรือ Controller Analog Output 4-20mA [ ขา Analog Out ต่อที่ AVI ][ ขา Common Analog ต่อที่ ACM ]

เซ็ตเท่ากับ 3 คือ เลือกใช้ปรับความถี่โดยรับคำสั่งจาก Controller ผ่านระบบ RS-485 [ Modbus RTU , Modbus ASCII ]
เซ็ตเท่ากับ 4 คือ เลือกใช้ปรับความถี่โดยการหมุนวอลุ่มบนตัว keypad
 

 

Parameter ที่ต้องเซ็ต สำหรับสั่งเริ่มเดินมอเตอร์ Start Run 
Parameter [ 02.01 ] ปกติจะถูกเซ็ตไว้เท่ากับ 1
เซ็ตเท่ากับ 0 คือ เลือกใช้คำสั่งเริ่มเดินมอเตอร์ Start Run โดยกดปุ่ม RUN ที่หน้าจอ Keypad
เซ็ตเท่ากับ 1

คือ เลือกใช้คำสั่งเริ่มเดินมอเตอร์ Start Run โดยต่อวงจรภายนอก [ กด RUN ไม่ได้ ] กดStop Reset ได้

Dip Switch เลือก NPN จะต่อวงจรจากขั้ว MI1 ผ่าน Contact Switch หรือ Contact Relay กลับไป ขั้ว DCM

Dip Switch เลือก PNP จะต่อวงจรจากขั้ว MI1 ผ่าน Contact Switch หรือ Contact Relay กลับไป ขั้ว +24V

สั่งโดย PLC หรือ Controller แบบ Output Sink (NPN) หรือ เอาต์พุตลบ

Dip Switch ต้องเลือก NPN จะต่อวงจร [ +24V จากระบบ PLC ] ไป [ +24V ของ Inverter ]

และจาก [ Output PLC ] ไป [ MI1 ของ Inverter ]

เซ็ตเท่ากับ 2

เหมือนกันกับเซ็ตเท่ากับ 1 แต่จะไม่สามารถกด Stop หรือ Reset ที่ keypad ได้

เซ็ตเท่ากับ 3 คือ เลือกใช้คำสั่งเริ่มเดินมอเตอร์ Start Run โดยรับคำสั่งจาก Controller ผ่านระบบ RS-485 [ Modbus RTU , Modbus ASCII ]
เซ็ตเท่ากับ 4 เหมือนกันกับเซ็ตเท่ากับ 3 แต่จะไม่สามารถกด Stop หรือ Reset ที่ keypad ได้
 

 

Parameter ที่ต้องเซ็ต สำหรับ Accel Time ช่วงเวลาที่ใช้ในการเริ่มออกตัวจนถึงค่าความถี่ที่ตั้งไว้  
Parameter [ 01.09 ] ปกติจะถูกเซ็ตไว้เท่ากับ 10
      ปรับค่าน้อยออกตัวเร็ว ปรับค่ามากออกตัวช้า
 

 

Parameter ที่ต้องเซ็ต สำหรับ Decel Time ช่วงเวลาที่ใช้ในการเริ่มหยุดจนถึงหยุดนิ่งหรือค่าความถี่ที่ตั้งไว้   
Parameter [ 01.10 ] ปกติจะถูกเซ็ตไว้เท่ากับ 10
                   ปรับค่าน้อยหยุดเร็ว ค่าที่ปรับต้องมีความสัมพันธ์กับโหลดของมอเตอร์ด้วย หากโหลดมีความเฉื่อยสูง (High Inertia) จะต้องต่อวงจร Braking Resistor ด้วย



Parameter ที่ต้องเซ็ต เลือกฟังก์ชั่นเทอร์มินอล MI1 MI2 ในการสั่ง RUN/STOP/FWD/REV   
Parameter [ 04.04 ] ปกติจะถูกเซ็ตไว้เท่ากับ 0 *** ฟังก์ชั่นนี้จะมีผลใช้งานก็ต่อเมื่อ Parameter [ 02.01 ] ถูกเซ็ตค่าไว้ที่ 1
เซ็ตเท่ากับ 0

จะเป็นแบบ 2 สาย

MI1 หน้าคอนแทคสัมผัสติด มอเตอร์จะหมุนไปด้านหน้า แล้วถ้าคอนแทคสัมผัสไม่ติดมอเตอร์จะหยุดหมุน

MI2 หน้าคอนแทคสัมผัสติด มอเตอร์จะหมุนกลับทาง แล้วถ้าคอนแทคสัมผัสไม่ติดมอเตอร์จะหยุดหมุน

Picture Wirring Pr04.04 = 0

เซ็ตเท่ากับ 1

จะเป็นแบบ 2 สาย

MI1 หน้าคอนแทคสัมผัสติด มอเตอร์จะเริ่มหมุนทิศทางตาม MI2 แล้วถ้าคอนแทคสัมผัสไม่ติดมอเตอร์จะหยุดหมุน

MI2 หน้าคอนแทคสัมผัสไม่ติด มอเตอร์จะเลือกทิศทางหมุนไปด้านหน้า แล้วถ้าคอนแทคสัมผัสติดมอเตอร์จะเลือกทิศทางหมุนกลับทาง แต่มอเตอร์จะยังไม่หมุนจนกว่าจะมีคำสั่งจาก MI1

Picture Pr04.04 = 1

เซ็ตเท่ากับ 2

จะเป็นแบบ 3 สาย

MI1 หน้าคอนแทคสัมผัสติด มอเตอร์จะเริ่มหมุนทิศทางตาม MI2 ภายใต้เงื่อนไขที่ MI3 จะต้องหน้าคอนแทคสัมผัสติดด้วย

MI2 หน้าคอนแทคสัมผัสไม่ติด มอเตอร์จะเลือกทิศทางหมุนไปด้านหน้า แล้วถ้าคอนแทคสัมผัสติดมอเตอร์จะเลือกทิศทางหมุนกลับทาง แต่มอเตอร์จะยังไม่หมุนจนกว่าจะมีคำสั่งจาก MI1

MI3 หน้าคอนแทคสัมผัสไม่ติด มอเตอร์จะหยุดหมุน

Picture Pr04.04 = 2

 

INVERTER DELTA VFD-F SERIES


INVERTER DELTA VFD-G SERIES


INVERTER DELTA VFD-CP2000 SERIES


INVERTER DELTA VFD-CB2000 SERIES


INVERTER DELTA VFD-VE SERIES



INVERTER DELTA VFD-VL SERIES


INVERTER DELTA VFD-VJ SERIES